ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นอีกปัญหาที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่ ส่งผลให้เครื่องฟอกอากาศ จากปกติไม่ค่อยมีใครซื้อ ตอนนี้กลับเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขายดี โดยเฉพาะจากแบรนด์ Xiaomi ผู้ผลิตสมาร์ตโฟนชื่อดัง ในบทความนี้จึงพามาแนะนำว่า การทำงานของ เครื่องฟอกอากาศ Xiaomi มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง
เครื่องฟอกอากาศจำเป็นไหม? ติดตามกันได้ที่โพสนี้

ความจำเป็นของเครื่องฟอกอากาศ

อย่างแรกก่อนไปซื้อ คงต้องตั้งคำถามกันว่า เครื่องฟอกอากาศจำเป็นไหม? ซึ่งคนที่ตอบได้ดีที่สุดคือ ตัวคุณเอง โดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อมภายในบ้าน ห้องนอน ห้องนั่งเล่น เช่น หากละแวกบ้านอยู่ใกล้ถนนมีฝุ่นมาก ใช้นิ้วปาดขอบหน้าต่างวาดรูปได้ทุกชั่วโมง แบบนี้ต้องจัดมาใช้ด่วน ส่วนบ้านไหนที่อยู่ในหมู่บ้าน เลี้ยงสุนัข ล้อมรอบด้วยสวน ต้นไม้ อากาศดี และมีปัญหาเรื่องฝุ่นน้อย แต่อาจได้ปัญหาเรื่องละอองเกสรดอกไม้ เชื้อรา ไรฝุ่น และเส้นขนของสุนัข ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นสาเหตุของการเกิดโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด และอาการระคาย เคือง ซึ่งจำเป็นต้องใช้เช่นกัน

หลังจากพิจารณาแล้วว่า “จำเป็น” ปัญหาต่อมาคือ การเลือกซื้อว่าจะใช้รุ่นไหน แบบไหน หรือยี่ห้อไหน วันนี้ เราจะพามาดูกันว่า สำหรับ เครื่องฟอกอากาศ Xiaomi นั้นจะใช่ และมีฟังก์ชั่นอย่างที่คุณต้องการหรือไม่

ทำไม เครื่องฟอกอากาศ Xiaomi ได้รับความนิยม

คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เครื่องฟอกอากาศ Xiomi น้องใหม่เจ้านี้ มาแรงแซงโค้งจริงๆ ชนิดที่เจ้าตลาดต้องจับตามอง น่าจะต้องมีอะไรดีๆ จนได้รับความนิยม ลองมาดูตัวอย่างสเปคของน้องใหม่ตัวนี้กันสักนิด

เครื่องฟอกอากาศ Xiaomi 2S

ดูรุ่นที่มีขาย และเช็คราคาล่าสุดวันนี้

ตัวอย่างสเปคเครื่องฟอกอากาศ Xiaom รุ่น Mi Air Purifier

  • ขนาด : 240 มม. * 240 มม. * 520 มม.
  • น้ำหนัก : 4.5 กก. (รวมไส้กรอง)
  • กรองอากาศได้สูงสุด : 310 ลบ.ม./ชม.
  • ขนาดห้องที่รองรับ : 21 – 37 ตร.ม.
  • กำลังไฟ : 29W
  • ปริมาณพลังงานที่ใช้ปกติ : ≤ 2W
  • Input AC : 100-240 V
  • ระดับความถี่ : 50/60 Hz
  • อายุไส้กรอง : 3-6 เดือน

พื้นที่ที่ครอบคลุมการทำงาน

เครื่องฟอกอากาศ xiaom หากเป็นเครื่องที่ไม่ใหญ่มาก ขนาดปานกลาง จะครอบคลุมพื้นที่การทำงานประมาณ 21-37 ตารางเมตร แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องเลือกเครื่องฟอกอากาศ ควรพิจารณาจาก ขนาดของห้องด้วย เพราะยิ่งห้องมีขนาดใหญ่เท่าไร ก็ต้องซื้อเครื่องฟอกอากาศให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น เพื่อจะได้ทำงานเต็มประสิทธิภาพ โดยวิธีการคือ วัดขนาดกว้าง X ความยาวของห้อง แล้วดูค่าเปลี่ยนถ่ายอากาศทุกชั่วโมงของเครื่องฟอกอากาศว่าค่าคือเท่าไร

ซึ่งเครื่องฟอกอากาศ xiaom แต่ละตัวจะมีสเปคระบุชัดเจนว่า สามารถรองรับพื้นที่กี่ตารางเมตร แน่นอนว่าเราต้องคำนวณพื้นที่ของห้องก่อนที่จะไปซื้อ เพราะถ้าห้องมีขนาดใหญ่ แต่เครื่องฟอกอากาศมีขนาดเล็ก ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะนำมาใช้ ยกอย่างเช่น ห้องมีขนาด 20 ตารางเมตร ควรจะซื้อเครื่องฟอกอากาศที่รองรับพื้นที่ขนาด 25-30 ตารางเมตร เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพจากการฟอกอากาศจริงๆ

ปริมาณอากาศที่ทำความสะอาดได้ (CADR)

ข้อสำคัญของการพิจารณาซื้อ เครื่องฟอกอากาศ xiaom คือ การดูจากอัตราเปลี่ยนถ่ายอากาศต่อชั่วโมง หรือค่า CADR (Clean Air Delivery Rate) ซึ่งตัวเลขนี้จะได้จากการวัดปริมาณอากาศทั้งหมดที่ระบบฟอกอากาศสามารถทำความสะอาดได้ภายใน 1 นาที ปกติจะแสดงผลเป็นตัวเลข 3 ตัวเลขคืออัตราทำความสะอาดอากาศที่มีฝุ่นละออง อากาศที่มีเกสรดอกไม้ และอากาศที่มีควันบุหรี่ ยิ่งตัวเลขสูง ย่อมแสดงว่าเครื่องฟอกอากาศนั้นสามารถทำงานได้ดี

อัตราการเปลี่ยนถ่ายอากาศสะอาด (ACH)

Air Changes per Hour (ACH) หรืออัตราการเปลี่ยนถ่ายอากาศสะอาดให้กับห้องภายในหนึ่งชั่วโมง เช่น หาก ระบุค่าเป็น ‘5’ ก็หมายความว่า อากาศให้ห้องจะถูกเปลี่ยนถ่ายให้เป็นอากาศที่สะอาดให้หายใจได้อย่างสดชื่น ถึง 5 รอบทุกชั่วโมง ทั้งนี้ ค่า Air Change per Hour ของ เครื่องฟอกอากาศ xiaom บางรุ่น เช่น Air Purifier 2S จะไม่ได้บอกค่าของตัวนี้เอาไว้ แต่เราสามารถคำนวณเองได้
วิธีการคือ เอา CFM x 60 (นาที) = 10,920 แล้วเอามาหารปริมาณอากาศในห้อง (ห้องนอนลูกกว้าง 13.12 ฟุต x ยาว 13.12 ฟุต x สูง 9 ฟุต) จะได้ = 1,549 ลูกบาศก์ฟุต ฉะนั้น ค่า ACH จะได้ (10,920 หารด้วย 1,594) = 7 หมายความว่า ภายในหนึ่งชั่วโมง เครื่องฟอกอากาศ xiaom จะเปลี่ยนถ่ายอากาศสะอาดได้ 7 รอบ ซึ่งถือว่าดียี่ยมเลยทีเดียว

ไส้กรอง

ไส้กรองฝุ่นคือ ชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่กักเก็บฝุ่นและสิ่งสกปรก อากาศที่ถูกดูดด้วยพัดลมด้านในเครื่องจะผ่านไส้กรองฝุ่นเป็นอันดับแรก ไส้กรองฝุ่นยิ่งมีความละเอียดสูง จะยิ่งทำให้อากาศมีความบริสุทธิ์จากฝุ่นละออง กักเก็บฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi เกือบทุกรุ่นจะใช้ไส้กรองแบบเดียวกัน นั่นคือไส้กรองทรงกระบอก อากาศไหลเข้าได้ 360 องศา มีระบบกรอง 3 ชั้นคือ Primary Filter ดักฝุ่นทั่วไป, Japan Toray H11-grade HEPA Filter ที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กระดับ 2.5 ไมครอน (PM2.5) ได้ 99% และ Activated Carbon Filter กรองกลิ่นไม่พึงประสงค์ โดยสเปคระบุใช้งานได้ประมาณ 4,000 ชั่วโมง นอกจากไส้กรองสีฟ้าที่ติดมากับตัวเครื่องแล้ว ยังมีไส้กรอง Anti-Bacteria (สีม่วง) ที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ลอยอยู่ในอากาศ และไส้กรองทุกชิ้นจะฝังชิป RFID เอาไว้ เพื่อคอยตรวจสอบอายุการใช้งาน ซึ่งจะแสดงและแจ้งเตือนเมื่อถึงกำหนดเปลี่ยนผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ

ด้านการออกแบบ

ส่วนใหญ่แล้ว ในด้านการออกแบบของเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi จะมีรูปร่างหน้าตาเรียบๆ ทรง Tower สี่เหลี่ยมจตุรัส มีช่องดูดอากาศเข้ารอบตัวทั้งสี่ด้าน ติดตั้งใบพัดเป่าอากาศสะอาดออกด้านบน มีปุ่มกดปุ่มเดียวทำหน้าที่ทั้งเปิดปิดเครื่อง และเปลี่ยนโหมด ด้านหน้าติดตั้งจอแสดงผลทรงกลม เวลาตั้งหรือจัดวางไว้ตามมุมต่างๆของบ้าน จึงทำได้ง่าย ไม่เกะกะ

ฟังก์ชั่นต่างๆ ที่น่าสนใจของ Xiaomi Air Purifier

ในส่วนของฟังก์ชั่นต่างๆ เพื่อการใช้งาน ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่าต้องการตอบสนองความสะดวกสบายของตนเองมากน้อยแค่ไหน แต่ฟังก์ชั่นที่ขาดไม่ได้คือ ระบบออโต้โมด ซึ่งเป็นระบบที่สามารถปรับระดับความเบา ความแรงของเครื่องฟอกอากาศได้เองโดยอัตโนมัติ รวมทั้งควรมีฟังก์ชั่นการตั้งเวลาเปิด-ปิด เพื่อให้เครื่องสามารถหยุดการทำงานในขณะที่เราหลับหรือไม่อยู่บ้าน

แต่สำหรับเครื่องฟอกอากาศ xiaom มีฟังก์ชั่นเด่นๆ อาทิ การวัดข้อมูลปริมาณฝุ่น ทำหน้าที่โดย Laser PM Sensor ที่ติดตั้งอยู่บริเวณด้านหลังตัวเครื่อง สามารถตรวจจับฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาด 0.3-0.25 ไมครอนได้อย่างแม่นยำ ซึ่งหากเซ็นเซอร์ตรวจพบค่าอากาศที่เกินค่าเหมาะสม

เครื่องก็จะทำงานโดยอัตโนมัติ ในด้านจอแสดงผล OLED สามารถหรี่แสงไฟตอนปิดไฟนอนอัตโนมัติไม่ต้องกลัวแยงตา แสดงข้อมูลครบครันแบบเรียลไทม์ ทั้งปริมาณฝุ่นละอองตามดัชนี Particulate Matter 2.5 (PM2.5) และมีแถบสีแสดงไว้ด้านล่างบอกคุณภาพอากาศ สีเขียว = ปกติ, สีส้ม = ปานกลาง, สีแดง = แย่

การบอกปริมาณความชื้น

สำหรับคนที่อาศัยในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศ จะพบว่าผิวจะมีความแห้งกร้าน หรือรู้สึกคอแห้งเมื่อตื่นมาใน ตอนเช้า ผู้ผลิตเครื่องฟอกอากาศ จะตอบโจทย์นี้ด้วยการนำเทคโนโลยีการสร้างความชื้นในอากาศ โดยมีการเพิ่มแผ่นซึ่งผลิตจากวัสดุที่มีคุณสมบัติกักเก็บน้ำเพิ่มเข้าไปในชั้นกรอง อากาศที่ดูดผ่านไส้กรองจะผ่านแผ่น สร้างความชื้นอีกชั้น ส่งผลให้อากาศที่ออกมาจากเครื่องฟอกอากาศ มีความชุ่มชื่น ช่วยให้ผิวไม่แห้งกร้าน
ซึ่งในเครื่องฟอกอากาศ xiaom จะมีตัวเลขบอกปริมาณความชื้นในอากาศ อุณหภูมิห้อง โหมดการทำงาน และไอคอนแสดงสถานะการเชื่อมต่อกับ Wi-Fi เป็นอีกระบบการทำงานหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะสามารถเชื่อมต่อ Wi-Fi ในบ้านของเราได้ ช่วยให้เราสามารถควบคุมสั่งงานผ่านสมาร์ทโฟนได้โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินไปที่ตัวเครื่องเอง เพราะหลังจากที่เราตั้งค่าให้เครื่องฟอกอากาศเชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สายในบ้านแล้ว ก็ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Mi Home มาติดตั้งบนสมาร์ทโฟน (มีทั้ง iOS และ Android) สามารถสั่งเปิด-ปิด ได้จากมือถือ รวมถึงตั้งค่าการทำงานได้เลย เช่น กำหนดขนาดของห้องที่เราตั้งเครื่องไว้ เพื่อให้พัดลมทำงานในระดับที่เหมาะสม และเป็นการยืดอายุการใช้งานของไส้กรองไปในตัว การตั้งเวลาเปิด-ปิดเครื่องบนหน้าจอแสดงผล รวมถึงการแสดงข้อมูลด้านสภาพอากาศ

เสียงรบกวนและการใช้พลังงาน

เครื่องฟอกอากาศที่ดีควรมีระดับเสียงต่ำขณะทำงาน เพราะผู้เป็นภูมิแพ้บางคน อาจต้องเปิดเครื่องฟอกอากาศ ขณะนอนหลับ ดังนั้น จึงควรเลือกระดับเสียงในการทำงานที่มีค่าประมาณ 30-31 เดซิเบล ส่วนใครที่ไม่คิดว่าจำเป็นต้องใช้งานตอนกลางคืน อาจข้ามเรื่องเสียงไปก็ได้ สำหรับคนที่คิดจะซื้อ เครื่องฟอกอากาศ xiaom มี โหมดการทำงานแบบ Night Mode ทำให้เสียงเงียบสนิท ส่วนโหมด Custom นั้นจะเริ่มได้ยินเสียงพัดลมทำงานก็เมื่อตั้งค่าขนาดของห้องที่ประมาณ 15 ตารางเมตรขึ้นไป โดยพัดลมจะหมุนด้วยความเร็วคงที่ไปเรื่อยๆ จนกว่าเราจะเปลี่ยนเป็นโหมด Auto หรือ Night Mode

การประหยัดพลังงาน

ส่วนหนึ่งที่ทำให้มีผลต่อค่าไฟและการใช้พลังงานคือ แผ่นกรอง ถ้าแผ่นกรองหนาแน่นมาก อากาศผ่านได้น้อย จะยิ่งทำให้เครื่องฟอกอากาศทำงานหนักและกินไฟ ดังนั้น ควรเลือกเครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรองแบบที่ อากาศไหลผ่านได้ดี รวมทั้งให้พิจารณาฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ร่วมด้วย หรือในเครื่องฟอกอากาศบางรุ่นจะระบุว่าเป็นการประหยัดพลังงานแบบใด เช่น A ประหยัดพลังงานระดับเดียวกับเครื่องฟอกอากาศเบอร์ 5, A+ ประหยัดพลังงานมากกว่าเครื่องฟอกอากาศเบอร์ 5, A++ ประหยัดพลังงานสูงมาก ปลอดภัยต่อสัตว์และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะระบุในเครื่องฟอกอากาศที่นำเข้ามาจากทวีปยุโรป
สำหรับ เครื่องฟอกอากาศ xiaom เรื่องการใช้พลังงาน ตัวอย่างเมื่อวัดโดยอุปกรณ์ Volcraft Energy Check 3000 พบว่า ใช้ไฟในโหมด Night Mode แค่ 1.5 วัตต์ โหมด Custom ตั้งพัดลมปานกลาง ใช้ไฟ 7.5 วัตต์ ส่วนถ้าเปิดพัดลมแรงสุด จะดึงไฟประมาณ 26 วัตต์เท่านั้น ถือว่าประหยัดใช้ได้

การดูแลหลังการซื้อขาย

เมื่อต้องตัดสินใจซื้อเครื่องฟอกอากาศยี่ห้อใดๆก็ตาม นอกจากเรื่องของระบบการทำงาน ดีไซน์ต่างๆ แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณาคือ การบริการหลังการขาย โดยเฉพาะเรื่องอะไหล่ของเครื่องฟอกอากาศที่อาจต้องพิจารณาว่า ถ้าเกิดเครื่องฟอกอากาศมีปัญหาในภายหลัง เราจะสามารถหาซื้ออะไหล่เหล่านั้นได้สะดวกหรือไม่ โดยเฉพาะพวกแผ่นกรองและไส้กรองต่างๆ (แน่นอนว่า เมื่อซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งที คงไม่เอาไว้ใช้แค่ 2-3 แน่นอน) ซึ่งการบริการหลังการขายของ เครื่องฟอกอากาศ xiaom ปัจจุบันยังไม่มีศูนย์บริการอย่างเป็นทางการในประเทศไทย อะไหล่อาจต้องสั่งเอาจากออนไลน์ หรือร้านค้าที่รับพรีออเดอร์ ซึ่งอาจไม่สะดวกนัก

บทสรุป

หากใครกำลังวางแผนจะซื้อเครื่องฟอกอากาศคุณภาพดีและราคาเหมาะสมมาใช้ หรืออยากลองเล่นฟังก์ชันใหม่ๆ เครื่องฟอกอากาศ xiaom ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ทั้งจากฟังก์ชันการควบคุมผ่านสมาร์ทโฟนได้ ใช้เซ็นเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศคุณภาพสูง การประหยัดพลังงาน ไส้กรอง 3 ชั้นถอดเปลี่ยนง่าย ดีไซน์เรียบแต่โก้ จึงเป็นเครื่องฟอกอากาศอีกยี่ห้อหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยเลย